top of page

การสัก การสับ

“สัก” ภาษาล้านนาเรียกว่า “สับ” หมายถึงใช้เหล็กแหลมที่อุ้มน้ำหมึกสีต่าง ๆ รวมถึงน้ำมันแล้วสักเข้าไปในผิวหนังจนเกิดสีหรือลวดลายต่าง ๆ เมื่อมีการสักคาถาอาคมเลขยันต์เรียกว่า “สับยันต์” สักหมึกแบบถมทึบเรียกว่า “สับขาตัน” หากสักแบบเป็นลวดลายเรียกว่า “สับขาก่าน” หรือ “สับขาลาย” ทั้งสักขาตันและสักขาก่าน (สักขาลาย) หากสักถึงเข่าเรียกว่า “สับขาก้อม” และหากสักเลยลงไปถึงน่องหรือข้อเท้าเรียกว่า “สับขายาว” หรือ “สับขารวด” การสักในอดีตจะเน้นเรื่อง “ข่ามคง” หมายถึงความอยู่ยงคงกระพันเป็นหลัก ดังนั้น “สับยันต์ข่าม” จึงหมายถึงการสักรูปยันต์สักเลขอักขระคาถาอาคมลงไปบนผิวหนังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อให้เกิดความอยู่ยงคงกระพัน ซึ่งการสักยันต์นี้สามารถแบ่งกว้าง ๆ ตามจุดมุ่งหมายได้ 2 ประเภท คือ (1) สักยันต์เพื่ออยู่ยงคงกระพัน และ (2) สักยันต์เพื่อเมตตามหานิยม การสักยันต์ถือว่าเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ลึกซึ้ง

ที่มา : วัฒนธรรมการสักในล้านนา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/371

325734532_660378755879332_526756097636183299_n.jpg
325429036_576733067213201_5875398725690406165_n.jpg
325482640_2784645281668349_5027871965093726931_n.jpg
324865242_874014720317723_6255667847504537066_n.jpg
bottom of page